วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2003 ภาษาไทย

การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2003 ภาษาไทย เป็นการจัดเตรียมฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานครั้งแรก โดยจะคัดสำเนาแฟ้มที่ต้องการจากแผ่นซีดีโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่จะทำการลงโปรแกรมควรมีคุณสมบัติของระบบเครื่อง ดังนี้

1. โปรเซสเซอร์ Pentium 223 เมกะเฮิรตซ์ หรือโปรเซสเซอร์รุ่นสูงกว่า ขอแนะนำเป็น Pentium III



2. ระบบปฏิบัติการ Microsoft Office 2003 Service Pack 3 หรือรุ่นใหม่กว่า หรือ Windows XP หรือรุ่นใหม่กว่า (ขอแนะนำ)



3. หน่วยความจำ แรม 128 เมกะไบต์ (ขอแนะนำ 256 เมกะไบต์)บนฮาร์ดดิสก์ที่มีระบบปฏิบัติการอยู่ด้วย การใช้พื้นที่ว่าง 115 เมกะไบต์บนฮาร์ดดิสก์ที่มีระบบปฏิบัติการอยู่ด้วย การใช้พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์แตกต่างกันไปแล้วแต่การกำหนดค่าแหล่งสำหรับ การติดตั้งภายในเครื่องนั้น ต้องการพื้นที่ว่างบนฮาร์ดิสก์ประมาณ 2 กิกะไบต์ในช่วงระหว่างการติดตั้ง แหล่งสำหรับการติดตั้งภายในเครื่องที่เหลืออยู่บนคอมพิวเตอร์ของผู้นั้นต้อง การพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 240 เมกะไบต์ ซึ่งมากกว่าที่โปรแกรม Office ต้องการ


4. โปรแกรมติดตั้งจะให้เราเลือกรูปแบบการติดตั้ง ในที่นี้จะนำเสนอรูปแบบ Typical Install คือรูปแบบติดตั้งแบบสมบูรณ์ สำหรับผู้ที่ติดตั้งไม่ค่อยชำนาญ






ให้เลือก Typical Inatall (ส่วนรายละเอียดของการติดตั้งแบบอื่น ให้ผู้อ่านศึกษาเพิ่มเติมเอง)



ส่วนตรงช่อง Install to : เป็นช่องสำหรับให้เรากำหนดที่ๆ จะติดตั้งโปรแกรม ในที่นี้ให้เราปล่อยไว้ไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงอะไร เสร็จแล้วคลิ๊กปุ่ม Next >


5.มอนิเตอร์ Super VGA (800×600)หรือความคมชัดสูงกว่าด้วย 256 สี



6.ดิสก์ไดรฟ์ ซีดี-รอมไดรว์



7.อุปกรณ์สำหรับการชี้ Microsoft Mouse,Microsoft IntelliMouse®





สังเกตที่ Start Menu จะมีเมนูของ โปรแกรมชุด Microsoft Office 2003 แสดงอยู่ด้วย



เสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2003

***ขอขอบคุณwww.piten.tk***


ความหมายของระบบปฏิบัติการ


โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้ กับโปรแกรมต่าง ๆ


ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)



2. โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator





ประเภทของระบบปฏิบัติการ



ระบบปฏิบัติการ สามารถแยกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. แบบหลายผู้ใช้ (Multi-user) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์

2. แบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) หมายถึง ระบบปฏิบัติการ ซึ่งสามารถใช้ CPU มากกว่า 1 ตัวในการประมวล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปฏิบัติการที่มีการประมวลผลแบบขนาน (Parallel processing)

3. แบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้งจะทำการแบ่งเวลาการใช้งาน CPU ของโปรแกรมแต่ละตัว ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้พร้อมกัน

4. แบบมัลติทรีดดิ้ง (Multithreading) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ส่วนต่าง ๆ (Thread) ภายในโปรแกรมเดียวกันสามารถทำงานได้พร้อมกัน

5. แบบเวลาจริง (Real time) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่ตอบสนองต่ออินพุตแบบทันทีทันใด จะเป็นระบบปฏิบัติการี่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน





โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์((COMPUTER SYSTEM STRUCTURES ))

เราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้



1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผล การปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต

หรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว

(execute)การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรัหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้ว

หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ
-หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมดให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง

-หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์

เช่น บวก ลบ คูณ หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์ เช่น AND OR นอกจากนี้ยังสามารถทำโอเปอร์ชั่นอื่นๆ อีก เช่น การเลื่อนบิต

( shift ) หรือการทำคอมพลีเมนต์ ( complement ) เพื่อสลับค่าตัวเลขจากบวกเป็นลบ หรือจากลบเป็นบวก

เช่น -5 หรือ +5 เป็นต้น สำหรับหน่วยควบคุมมีหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง

อาศัยเทคโนโลยีก้าวหน้าในปัจจุบัน เราสามารถผลิตซีพียู ลงบนแผงวงจรรวมหรือไอซี (Integrated
Circuit) ที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ และเราเรียกกันว่าไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ โปรเซสเซอร์

3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์
ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์
(106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ ) เราอาจแบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
- หน่วยความจำปฐมภูมิ เป็นหน่วยความจำที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรงมี 2 ชนิดคือ แบบที่ข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สูญหาย
แม้ไม่มีไฟฟ้าป้อน เป็นหน่วยความจำที่เรียกกันทั่วไปว่า รอม ( Read Only Memory : ROM ) ข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน
ถูกสร้างขึ้นในขณะที่สร้างหน่วยความจำจากโรงงาน ผู้ผลิต และไม่สามารถแก้ไขได้ (แต่ในปัจจุบันหน่วยความจำประเภทนี้ได้รับการพัฒนา
ให้สามารถบันทึกและลบข้อมูลภายในได้ แต่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษเฉพาะหน่วยความจำชนิดนี้ ได้แก่ programmeble ROM
หรือ PROM และ erasable PROM หรือ EPROM ) ส่วนหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งคือ แรม ( Random
Access Momery , RAM ) ข้อมูลที่เก็บไว้จำเป็นต้องใช้กระแสไฟเพื่อรักษาข้อมูลให้คงอยู่ ถ้าไม่มีกราฟไฟฟ้าข้อมูล
ที่เก็บไว้ก็หายไปหมด
-หน่วยความจำทุติยภูมิ หน่วยความจำประเภทนี้ เราจะไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล แต่เป็นส่วนหนึ่งของ
อุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตมากกว่า ตัวอย่างของหน่วยความจำ ประเภทนี้ได้แก่ ดิสก์ เทป เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาระบบปฏิบัติการ การจัดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์อาจแตกต่างจากที่เคย


พบมา เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้

1. ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์

หรือ คอมพิวเตอร์

2. ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์

      รอบข้าง (peripheral)

 เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกับ แต่ลดความยุ่งยากลง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์

อินพุตจะรับข้อมูล หรือ รับคำสั่ง แล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมูลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการ

ทำงานของซีพียูบางครั้งซีพียูอาจส่งข้อมูลไปเก็บ เอาไว้ในหน่วยความจำทุติยภูมิ เช่น ดิสก์ ในลักษณะนี้ดิสก์จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เอาท์พุต

และในทำนองเดียวกัน ซีพียูอาจรับหรือต้องการข้อมูลมาจากดิสก์เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ดิสก์จะเป็นอุปกรณ์อินพุต นั่นคือ หน่วยความจำ

ทุติยภูมิสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุต และ เอาท์พุตการที่เราแยกหน่วยความจำปฐมภูมิกับหน่วยความจำทุติยภูมิออกกัน

เนื่องจากว่าหน่วยความจำปฐมภูมินั้น ติดต่อกับซีพียูโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่สำหรับหน่วยความจำทุติยภูมิเป็น

อุปกรณ์ภายนอกแยกออกไป และ ข้อสำคัญก็คือ การติดต่อระหว่างอุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตและหน่วยความจำทุติยภูมิต้องมีการอุปกรณ์ช่วยเหลือ


การติดตั้ง Windows XP Professional


การติดตั้ง Windows XP Professional พร้อมตัวอย่างตั้งแต่เริ่มต้น

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดครับ

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้

1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย

2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง

3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในขั้นตอนการติดตั้งระบบ Windows XP ตรงนี้ จะขอแสดงตัวอย่างการติดตั้ง โดยการบูตจากแผ่น CD ของ Windows XP Setup ครับ โดยก่อนที่จะทำการติดตั้ง ก็ให้ทำการสำรองข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย จัดการแบ่ง พาร์ติชั่น (ถ้าจำเป็น) และทำการ format ฮาร์ดดิสก์ให้เรียบร้อยก่อน นอกจากนี้ ไม่ควรลืมการเตรียม Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นของ Windows XP ไว้ด้วยครับ ดูรายละเอียดและวิธีการต่าง ๆ ตามลิงค์ต่อไปนี้

• การสร้างแผ่น Startup Disk สำหรับใช้บูทเครื่องคอมพิวเตอร์ จากแผ่นดิสก์

• การสร้าง ลบ หรือจัดแบ่ง พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยใช้ fdisk

• การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง Windows ใหม่

• การติดตั้ง Windows 98 Second Edition พร้อมตัวอย่างตั้งแต่เริ่มต้น

ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นครับ

การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ

เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ)

จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable

กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย



มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยครับ



เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)



ทำ การปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีครับ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน





โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปครับ








เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป





หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป





ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป





เลือก ชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะครับ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป





โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ครับ



หลัง จากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยครับ)



หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วครับ รอสักครู่





โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ครับ



จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยครับ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้



ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป





รอ ครับ รอ รอ รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ



บูต เครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะครับ



ใน ครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยครับ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย



เสร็จแล้วครับ หน้าตาของการเข้า Windows XP สวยดีครับ



และ นี่คือหน้าตาแรก ของระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional ครับ ต่อไปก็เป็นการปรับแต่ง และการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยต่อไป



ระบบป้องกันไวรัสของ AVG Antivirus



วิธีการติดตั้งระบบป้องกันไวรัสของ AVG Antivirus มีวิธีการดังนี้



1. เปิด Browser แล้วไปยังไซต์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ http://vishnu.sut.ac.th/ccs เลือกที่เมนู download center แล้วเลือกหัวข้อ Antivirus ซึ่งจะมี AVG Free Antivirus Program ให้ท่าน Download


2. เมื่อ download เสร็จแล้ว เราจะได้ตัวติดตั้ง ให้ท่าน double click ตัวติดตั้งเพื่อเริ่มทำการติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง



3.จากนั้นทำการติดตั้งตามขั้นตอน โดยการ click next และ accept ไปเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดการติดตั้ง



4. หลังจากติดตั้งระบบป้องกันไวรัสแล้ว ที่เครื่องของท่านก็จะมีไอคอน ที่ Taskbar ดังภาพด้านล่างแสดงว่าโปรแกรมป้องกันไวรัสทำงานอยู่บนระบบของท่าน




5. สำหรับการ update โปรแกรม ท่านจะต้องทำการ set ให้โปรแกรม update ผ่านทาง proxy โดยการ click ขวาที่ ไอคอน AVG จากนั้นไปที่ launch AVG Control Center ดังภาพ



6. เลือกที่ block "Update Manager" แล้วกดปุ่ม setting ด้านล่าง ดังภาพ

7. จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ ดังภาพด้านล่าง ให้ท่านเลือก Use proxy server แล้วใส่รายละเอียด proxy ที่ท่านใช้ พร้อมระบุ port:8080 แล้วclick OK ตามภาพด้านล่าง







เป็น การเสร็จขั้นตอน การ setting โปรแกรม และจากนี้ไป โปรแกรมจะทำงานอัตโนมัติ โดยจะทำการ scan เป็นระยะ ๆ และดักจับไวรัส อัตโนมัติ และ update virus pattern อัตโนมัติ ผ่านทาง proxy เอง
ถึงแม้ว่าโปรแกรมถูก set ให้ทำการ update อัตโนมัติ แต่การใช้งานในครั้งแรกจำเป็นจะต้อง update แบบ Manual เพื่อโปรแกรมให้เป็นปัจจุบันที่สุด ดังนั้นเมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จสิ้นแล้ว ท่านควร update โดยทันที ซึ่งสามารถทำได้โดย



1.คลิ้กขวาที่ icon AVG antivirus ที่รันอยู่มุมล่างด้านขวามือ เลือกเมนู check for update




2.เลือกวิธีการ update จาก internet

3.โปรแกรมจะทำการ update pattern จนเสร็จ จากนั้น ให้ท่านทำการเลือกเมนู check for update อีกครั้ง เพื่อให้ท่านทำการ update จนกว่า จะไม่มี pattern ใหม่ (หมายความว่า ท่านได้ update pattern file จนครบ

เป็นการเสร็จขั้นตอนการติดตั้งและการ update AVG Anti Virus Program

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1.PC BUS


เมื่อ IBM ได้ทำการเปิดตัว IBM PC ( XT ) ตัวแรก ซึ่งใช้ CPU 8088 เป็น CPU ขนาด 8 Bit ดังนั้น เครื่อง Computer เครื่องนี้ จึงมีเส้นทางข้อมูลเพียง 8 เส้นทาง( 8 data line ) และ เส้นทางที่อยู่ 20 เส้นทาง ( 20 address line ) เพื่อใช้ในการอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ Card ที่นำมาต่อกับ PC Bus นั้น จะเป็น Card แบบ 62 pin ซึ่ง 8 pin ใช้สำหรับส่งข้อมูล อีก 20 pin ไว้สำหรับอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ ซึ่ง CPU 8088 นั้น สามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้เพียง 1 Megabyte ซึ่งในแต่ละ pin นั้น สามารถส่งข้อมูลได้เพียง 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ( หรือ Low กับ High ) ดังนั้น เมื่อใช้ 20 pin ก็จะอ้างอิงตำแหน่งได้ที่ 2 คูณกัน 20 ครั้ง ( หรือ 2 ยกกำลัง 20 ) ซึ่งก็จะได้เท่ากับ 1 Meg. พอดี ส่วน pin ที่เหลือก็ใช้เป็นตัวกำหนดการอ่านค่า ว่าอ่านจากตำแหน่งของหน่วยความจำ หรือ ตำแหน่ง ของ Input/Output หรือ บาง pin ก็ใช้สำหรับจ่ายไฟ +5, -5, +12 และ สาย Ground ( สายดิน ) เพื่อจ่ายไฟให้กับ Card ที่ต่อพ่วงบน Slot ของ PC Bus นั่นเอง และ ยังมี pin บางตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัว reset หรือ เป็นตัว refresh หรือแม้กระทั่ง clock หรือ สัญญาณนาฬิกาของระบบนั่นเอง ระบบ Bus แบบ PC Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 4.77 MHz และ สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 2.38 MB ต่อ วินาที

2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Port หรือ พอร์ตคืออะไร


สำหรับ Application ในชั้น Layer สูง ๆ ที่ใช้ TCP (Transmission Control Protocol) หรือ UDP (User Datagram Protocol) จะมีหมายเลข Port ที่เป็นเลข 16 bit(2 Bytes) เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข Port ใช้สำหรับตัดสินว่า service ใดที่ถูกเรียกใช้ ในทางทฤษฎี หมายเลข Port แต่ละหมายเลขถูกเลือกสำหรับ service ใด ขึ้นอยู่กับ Operating System ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใด และได้กำหนดใน Request For Comments (RFC') 1700 ตัวอย่าง เช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP) ตัวอย่างใน /etc/services แสดงให้เห็นว่า หมายเลข Port แต่ละหมายเลขได้ถูกจับคู่กับ Transport Protocol หนึ่งหรือสอง Protocol ดังนั้น UPP หรือ TCP อาจใช้ หมายเลข Port เดียวกันได้ เนื่องจากเป็น Protocol ที่ต่างกัน



Port แบ่งเป็น 2 ประเภท (RFC' 1700)

1. Well Known Ports คือจะเป็น Port ที่ระบบส่วนใหญ่ กำหนดให้ใช้โดย Privileged User (ผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษ) โดย port เหล่านี้ ใช้สำหรับการติดต่อระหว่างเครื่องที่มีระบบเวลาที่ยาวนาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ service แก่ผู้ใช้ (ที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย) แปลกหน้า จึงจำเป็นต้องกำหนด Port ติดต่อสำหรับ Service นั้นๆ

2. Registered Ports จะเป็น Port หมายเลข 1024 ขึ้นไป ซึ่ง IANA ไม่ได้กำหนดไว้

Active และ Passive Ports

สิ่งสุดท้ายที่จะต้องกล่าวถึงเกี่ยวกับ Port ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง Active และ Passive Port ในการใช้การติดต่อด้วย TCP สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ Passive และ Active Connection Passive connection คือ การติดต่อที่ Application process สั่งให้ TCP รอหมายเลข Port สำหรับการร้องขอการติดต่อจาก Source Host เมื่อ TCP ได้รับการร้องขอแล้วจึงทำการเลือกหมายเลข Port ให้ แต่ถ้าเป็นแบบ Active TCP ก็จะให้ Application process เป็นฝ่ายเลือกหมายเลข Port ให้เลย





รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)

รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)


กลุ่ม 1

การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร

กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้



รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น


ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น




กลุ่ม 2


การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป

ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน

กลุ่ม 3


การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)



ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร

กลุ่ม 4


การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง



จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต


การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์


 
กลุ่ม 5


การส่งข้อมูลแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้ จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยาก เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย เคเบิลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่แล้วเครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก


กลุ่ม 6 ระบบบัส




ระบบบัส

ระบบบัสเปนลายวงจรอิเล็กทรอนิกสทําหนาที่ในการรับสงขอมูลระหวางไมโครโปรเซสเซอรกับสวนอื่น ๆ ของคอมพิวเตอรผานระบบชุดของสายนําสัญญาณใหเช่นการสงผานขอมูลระหวาง LANcard กับ CPU เพื่อใหเครื่องคอมพิวเตอรของเราสามารถติดตอกับเครื่องอื่นในเครือข่ายไดอย่างไรก็ตาม

การสงขอมูลระหวางซีพียูกับแผนวงจรเหลานี้ถาหากแบนดวิดทตางกัน เชน ซีพียูมีขนาด 32 บิต แตการดมีบัสแค16 บิต จะทําใหทํางานไดชาลงเนื่องจากเกิดคอขวดในการสงผานขอมูล

นอกจากนั้นระบบบัสยังทําการโอนยายขอมูลจากอุปกรณหนึ่งไปอีกอุปกรณหนึ่ง เชน การ

Copy ขอมูลจาก Hard disk ลง Floppy Disk หรือการนําขอมูลจาก Hard disk ไปสูหนวยความจํา RAMก็ตองทําผานระบบบัสทั้งนั้น

กลุ่ม 7 address bus

address bus ช่องทางกำหนดตำแหน่ง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มักมีเส้นทางแยกันตั้งแต่ 20 ถึง 32 เส้น ใช้เพื่อส่งสัญญาณที่บอกตำแหน่งไว้ในหน่วยความจำ จำนวนเส้นทางในช่องทางกำหนดตำแหน่งจะกำหนดจำนวนตำแหน่งหน่วยความจำที่ โปรเซสเซอร์จะอ้างถึงได้



กลุ่ม 8

CONTROL BUS

บัสควบคุม (CONTROL BUS) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากตัวซีพียูโดยบัสควบคุม เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป จากตัวซีพียู โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น

ไมโครโพรเซสเซอร์ไม่ใช่จะควบคุมการทำงานของบัสทั้งหมด บางกรณีในการส่งถ่ายข้อมูลภายนอกด้วยกันเอง ผ่านบัสได้เป็นกรณีพิเศษเหมือนกัน เช่น การอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่ สามารถส่งผ่านมายังหน่วยความจำหลักได้โดยไม่ผ่านไมโครโพรเซสเซอร์เลย ก็โดยการใช้ขบวนการที่เรียกว่า ขบวนการ DMA (DIRECT MEMORY ACCESS)



กลุ่ม 9

PC bus

เมื่อครั้งที่ IBM นั้นออกแบบ AT ขึ้นมา IBM ได้ทำการออกแบบระบบ bus ใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับข้อมูล 16 บิต และได้เพิ่มจำนวนของ control line และ ออกแบบ PC AT busโดยขยายออกมาจาก PC bus ซึ่งจะทำให้ competible กับ PC hardware และ IBM จะใช้ 62 pins channel slot เหมือนกับที่ใช้ใน PC และ IBM ได้ทำการเปลี่ยนชื่อของ pin บาง pin ให้สั้นลง และทำการเพิ่มอีก 36 pin ซึ่งใช้เป็น auxiliary slot auxiliary bus นั้นประกอบด้วย bus ข้อมูล 8 เส้น address bus 7 เส้น interrupt request 5 เส้น DMA request และ acknowledge 4 เส้น และ 8 เส้นเป็น power และ control line สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงน่าจะเกิดจากข้อสังเกตุต่อไปนี้ PC AT นั้นใช้ CPU 80286 และเพิ่ม DMA controller และ interrupt controller เข้าไปอีกอย่างละตัว และมีวงจรพิเศษไว้สำหรับทำ refresh memory ซึ่งจะทำให้ DMA channel 0 ว่างไป ซึ่งการ refresh memory นั้น ใน AT จะใช้ AT bus เส้นพิเศษ 1 เส้นที่เรียกว่า REFRESH ซึ่งนำมาแทนที่การทำงานของ DMA channel 0 และใน AT นั้นสามารถทำการ cascade interrupt controller ได้ โดยการนำ interrupt controller ตัวต่อไปต่อเข้ามาที่ interrupt request 2 และใช้ interrupt request 9 ทำหน้าที่แทน interrupt request 2 และเมื่อ 80286 ทำการดำเนินการใน Real address mode ซึ่ง address space นั้นมีขนาดเล็กจำกัดไม่เกิน 1 MB เมื่อ AT ทำการ run CPU ของมันใน Real address mode มันจะใช้ original bus 62 เส้น ( เหมือนกับที่ PC ใช้ ) และถ้าเป็นกรณีที่ AT นั้นไม่ได้ run ใน Real address mode และgenerate address ที่มีขนาดใหญ่ มันจะใช้หน่วยความจำพิเศษทำการอ่าน และ เขียน control line อันใหม่ของ PC AT bus ในการที่จะบอกว่าเป็น address ขนาดใหญ่ โดยที่อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกกำหนด address ได้ภายใน MB แรก เท่านั้น PC AT จะสามารถใช้ได้กับ card ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ PC แม้ว่า PC AT จะเป็น 16 บิต จึงทำให้ในการส่งข้อมูล 16 bit นั้นสามารถทำได้ภายในคราวเดียวและAT bus ก็มี control line พิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว มีหนึ่งเส้นของ control line ที่เพิ่มเข้ามาใน AT นั้นจะใช้เป็น zero wait state line (0WS) ซึ่ง IBM นั้นจะส่งสัญญาณใน line นี้ลงใน original PC bus เส้นที่ไม่ได้ใช้งานอะไร ดังนั้นในการผลิตอุปกรณ์นั้นจึงสามารถทำได้ทั้งcard 8 bit และ card 16 bit นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเส้นของ special control line ที่ใช้เป็นตัวชี้ว่าอุปกรณ์นั้นกำลังจะเริ่มทำการรับส่งข้อมูล 16 บิต ซึ่งใน line นี้นั้นอนุญาติให้ PC ระบุว่า card ที่ใช้นั้นเป็น card 8 bit หรือ 16 bit